วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

58: ปาฏิหาริย์องค์พระพุทธปฐวีธาตุแสดงฤทธิ์


เป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มนักรบธรรม (นรธ.) แห่งภูดานไห ต่างได้ครอบครองพระพิมพ์สายวังชุดพิเศษและสำคัญๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่พบเจอประสบการณ์ในด้านที่ดีเป็นมงคลและกุศลยิ่ง จนต่างอัญเชิญออกมาให้ญาติธรรมร่วมทำบุญสร้างวัด ได้รับรู้สัมผัสในพลานุภาพที่มีอยู่จริง เพราะองค์อธิษฐานจิตก็ของจริง แถมยังเก่าจริงๆอีกด้วย

วัตถุมงคลที่ได้รับการกล่าวขวัญในกลุ่ม นรธ. และเป็นที่ยอมรับของผู้ทรงญาณอย่างต่อเนื่อง จนลงใจให้แล้วแขวนเดี่ยวอย่างเดียวก็คือ "พระพุทธปฐวีธาตุ" แห่งองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช นามขององค์ท่าน ก็เกี่ยวข้องกับความหมายทางด้านฤทธิ์ ด้านเดช อยู่แล้ว ทว่าองค์ท่านกลับไม่ได้แสดงหรืออวดฤทธิ์ ซึ่งเป็นสมบัติของโลกให้คนลุ่มหลงมัวเมา หรือศรัทธาในทางนี้เลย องค์ท่านกลับแสดงปาฏิหาริย์ทางด้านธรรมเทศนา ให้เหล่าผู้มาศึกษาธรรมะด้วยความเคารพนบนอบต่อองค์ท่านอย่างจริงจัง ได้เข้าใจในการศึกษาปฏิบัติ ตามภูมิธรรม ตามจริตของแต่ละคน บ้างก็แตกต่าง บ้างก็เหมือน จนทำให้แต่ละคนพบว่าตัวเองมีจิตใจที่ค่อนข้างละเอียด รู้การควร การไม่ควร มีความเจริญงอกงามในทางธรรมและมีกำลังใจในการปฏิบัติ เห็นแสงสว่างในทางอริยมรรคธรรมอย่างต่อเนื่อง

พระพุทธปฐวีธาตุเป็นมงคลธาตุสิ่งหนึ่งที่องค์ท่านเพียรหา เพียรสร้าง เพียรอธิษฐานจิตเพื่อมอบให้กับเหล่าศิษย์ผู้ที่เคารพรักและศรัทธาในองค์ท่าน ได้รับไว้เป็นอนุสสติ* ประกอบในการทำความเพียร วิปัสสนากรรมฐาน ผู้ที่ได้รับไปต่างก็พบเจอประสบการณ์แตกต่างกันไปตามภูมิจิต ภูมิธรรม ตามกรรมของแต่ละคนไป แยกเป็นสองส่วนดังนี้

1. พลานุภาพในทางโลกธรรม: พระพุทธปฐวีธาตุทุกองค์ มีพลานุภาพหนักแน่นไร้ขีดจำกัดแบบครอบจักรวาล มีดีทุกด้าน เกินกว่าจะวัดหรือหยั่งได้ (พุทโธอัปปมาโน) เช่น พลานุภาพด้านเมตตามหานิยม ความอยู่เย็นเป็นสุข บรรเทาอุบัติเหตุเพทภัยพิบัติต่างๆ จากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นไม่มีหรือแคล้วคลาดปลอดภัย อีกทั้งกันคุณไสย คุณคน คุณผี เป็นต้น ฯลฯ

เบี้ยแก้ : หากดูดซับพลังฝ่ายไม่ดีแทนเจ้าของไว้มากๆจนเต็ม สีจะเปลี่ยนเป็นสีดำๆ ก็จะกันคุณไสย คุณผี คุณคน ไม่ได้เต็มที่หรือไม่ได้เลย ทว่า พระพุทธปฐวีธาตุนั้นกลับมีพลังงานใช้ไม่มีหมดสิ้น สามารถดูดพลัง และผ่องถ่ายพลังที่ดีจากวัตถุมงคลอื่นๆได้อย่างน่าอัศจรรย์ให้กับผู้ครอบครองที่สามารถสัมผัสพลังได้เป็นอย่างยิ่ง


 

2. พลานุภาพในทางโลกุตรธรรม: โดยคำสั่งแห่งองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ได้บอกกล่าวสั้นๆแก่เหล่า นาค เทพ ฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ผู้อาสารับใช้องค์ท่านเพื่อพิทักษ์รักษาพระพุทธปฐวีธาตุ สั่งสมบุญบารมีว่า "ไปเด๊อ...หมู่เจ้า ไปแสดงให้เขาเห็นว่า พระพุทธศาสนายังมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่"


ดังนั้น ท่านผู้มีตาในของจริงจึงเห็นพระพุทธปฐวีธาตุส่องแสงสว่างสีขาวประกายเรืองรองไปทั่วทั้งจักรวาล เห็นมีพญานาคสีขาว หรือเทวดาสวมชุดขาว สถิตอยู่ภายใน ส่วนนักปฏิบัติธรรมทั่วไปที่มีจิตเชื่อมั่นและศรัทธา ก็สามารถสัมผัสพลานุภาพอันเป็นรูปธรรมได้ เช่น พระพุทธปฐวีธาตุย้ายตำแหน่งวางได้ ขยับองค์ได้ ขยายองค์ได้ เสียดสีกันไปมาได้ (กรณีมีสององค์ขึ้นไป) สามารถทรงอารมณ์แห่งความเย็นใจ สบายใจได้ แม้จักไม่ได้อัญเชิญนานเป็นวันๆ (ผู้ครอบครองต้องมีสมาธิและพลังจิตในการซึมซับพลังงานได้) จนสงสัยว่า องค์ท่านสามารถจับพลังความเย็นใจ สบายใจ (อารมณ์พระนิพพาน) มาใส่วัตถุธาตุนี้ แล้วส่งต่อมาให้ผู้ครอบครองสามารถสัมผัสได้ ได้อย่างไรหนอ?

พระพุทธปฐวีธาตุสามารถผ่องถ่ายพลังกระแสเย็นได้:
นอกจากนี้แล้วพระพุทธปฐวีธาตุ ยังเป็นเหมือนสิ่งที่มีชีวิตจิตใจจริงๆ คือเป็นธาตุรู้ที่สัมผัสได้ทางความรู้สึก เช่น หากผู้ครอบครองเกิดอาการหดหู่ เสียใจ ท้อแท้ หมดกำลังใจในการปฏิบัติธรรม สาเหตุอาจจะเกิดจากการสูญเสียวัตถุ สิ่งของ สัตว์เลี้ยง บุคคล อันเป็นที่รักไป พระพุทธปฐวีธาตุก็จักสำแดงพลังให้ผู้ที่ครอบครองและเกิดอาการอันไม่สบายใจข้างต้น ให้กลับมีความเย็นกว่าปกติ จนผู้อัญเชิญมีอารมณ์เป็นปกติ จึงจะหยุดในการส่งถ่ายพลังเย็น (ถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้มีกระแสจิตที่ละเอียดลึกซึ้ง)


ดังนั้น พระพุทธปฐวีธาตุ ถือเป็นตัวแทนขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ที่สามารถจับต้องสัมผัสได้จากแดนไกล พระพุทธปฐวีธาตุจักสำแดงพลังให้ท่านผู้ครอบครองอาราธนาอัญเชิญด้วยจิตที่เคารพนบนอบ อย่างบริสุทธิ์ใจ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์เมตตาบอกว่า "พระพุทธปฐวีธาตุ จักแสดงฤทธิ์ของเขาเอง ไม่ต้องไปป่าวประกาศ ไม่ต้องไปโฆษณา แต่ผู้ที่สัมผัสพลังได้นั่นแหละ เขาจะป่าวประกาศให้เอง" สมกับประกาศิตขององค์ท่านที่ว่า...

"ไปเด๊อ...หมู่เจ้า ไปแสดงให้เขาเห็นว่า พระพุทธศาสนายังมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่"
                

                

พระพุทธปฐวีธาตุ จึงเป็นวัตถุธาตุกายสิทธิ์อันมงคลเลิศในมุมมองของข้าพเจ้า ฉะนี้

ธรรมรักษ์ผู้รักษ์ธรรม
IT Man/20.06.55
................................................................................
*อนุสสต แปลว่า “ตามระลึกถึง” กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึกนึกถึง มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน 4 และฌาน 5 กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ อนุสสติทั้ง 10 อย่างนี้  ก็เหมาะแก่อารมณ์ของนักปฎิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกันบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต กองใดหมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริต อนุสสตินี้มีชื่อและอาการรวม 10 อย่างด้วยกัน จะนำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบ ดังต่อไปนี้
  1. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
  2. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์
  3. สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
  4. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์
  5. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
  6. เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    (อนุสสติทั้ง 6 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
  7. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
  8. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์
    (อนุสสติ 2 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
  9. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
  10. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและจริต
กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10
กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้
พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติทั้ง 7 นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ
ลีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษ ถึงปฐมฌานได้ ทั้งนี้ถ้าท่านนักปฎิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้้ แต่ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียงปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฎิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอา สีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฎในอารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ กรรมฐานกองนี้ก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 4 ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น
อานาปานุสสติ สำหรับอานาปานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน 4 สำหรับท่านที่มีวาสนาบารมีสาวกภูมิ สำหรับท่านที่มีบารมี คือปรารถนาพุทธภูมิแล้วก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 5 ,ฌาน 4
................................................................................
อ่านต่อ...
08: พลานุภาพพระพุทธปฐวีธาตุ
36: ทำไม "ปฐวีธาตุ" จึงมีความแตกต่างจากพระเครื่องมากมายนัก
141: เทวตานุสติ